วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ก้อนเมฆ






   เมฆ คือ เมฆเกิดจากการรวมตัวหรือเกาะกลุ่มของไอนำในที่สุดก็จะเกิดการควบแน่นและตกลงมาเป็นฝน ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้ ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้ เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น (เช่นว่า มีก๊าซอะไรอยู่ และ ระดับอุณหภูมิ) เมฆซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 รูปร่างลักษณะคือ เมฆก้อน และเมฆแผ่น เราเรียกเมฆก้อนว่า เมฆคิวมูลัส” (Cumulus) และเรียกเมฆแผ่นว่า เมฆสเตรตัส” (Stratus) หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน เรานำชื่อทั้งสองมารวมกัน และเรียกว่เมฆสเตรโตคิวมูลัส” (Stratocumulus) ในกรณีที่เป็นเมฆฝน เราจะเพิ่มคำว่า นิมโบหรือ นิมบัสซึ่งแปลว่า ฝนเข้าไป เช่น เราเรียกเมฆก้อนที่มีฝนตกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus) และเรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกว่า เมฆนิมโบสเตรตัส” (Nimbostratus) เราแบ่งเมฆออกเป็น 3 ระดับ คือ เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง และ เมฆชั้นสูง

เมฆชั้นต่ำ (สูงไม่เกิน 2 กิโลเมตร)

เมฆชั้นกลาง (2 - 6 กิโลเมตร)
เราจะเติมคำว่า อัลโตซึ่งแปลว่า ชั้นกลาง ไว้ข้างหน้า
เช่น เราเรียกเมฆก้อนชั้นกลางว่า เมฆอัลโตคิวมูลัส” (Altocumulus)
และเรียกเมฆแผ่นชั้นกลางว่า เมฆอัลโตสเตรตัส” (Altostratus)

เมฆชั้นสูง (6 กิโลเมตรขึ้นไป)
เราจะเติมคำว่า เซอโร ซึ่งแปลว่า ชั้นสูง ไว้ข้างหน้า
เช่น เราเรียกเมฆก้อน ชั้นสูงว่า เมฆเซอโรคิวมูลัส” (Cirrocumulus)
เรียกเมฆแผ่นชั้นสูงว่า เมฆเซอโรสเตรตัส” (Cirrostratus)

และเรียกเมฆชั้นสูง ที่มีรูปร่างเหมือนขนนกว่า เมฆเซอรัส” (Cirrus)
1_ผังแสดงการเรียกชื่อเมฆ.jpg



1. เมฆชั้นต่ำ (Low Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับต่ำกว่า 2 กิโลเมตร

เมฆสเตรตัส (Stratus)
เมฆแผ่นบาง ลอยสูงเหนือพื้นไม่มากนัก เช่น ลอยปกคลุมยอดเขามักเกิดขึ้นตอนเช้า
หรือหลังฝนตก บางครั้งลอยต่ำปกคลุมพื้นดิน เราเรียกว่า หมอก

เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus)
เมฆก้อน ลอยติดกันเป็นแพ ไม่มีรูปทรงที่ชัดเจน มีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย
มักเกิดขึ้นเวลาที่อากาศไม่ดี และมีสีเทา เนื่องจากลอยอยู่ในเงาของเมฆชั้นบน

เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus)
เมฆแผ่นสีเทา เกิดขึ้นเวลาที่อากาศมีเสถียรภาพ ทำให้เกิดฝนพรำๆ ฝนผ่าน หรือฝนตกแดดออก
ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้องฟ้าผ่า มักปรากฏให้เห็นสายฝนตกลงมาจากฐานเมฆ

2. เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 - 6 กิโลเมตร

เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus)
เมฆก้อน สีขาว มีลักษณะคล้ายฝูงแกะ ลอยเป็นแพ มีช่องว่างระหว่างก้อนเล็กน้อย

เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus)
เมฆแผ่นหนา ส่วนมากมักมีสีเทา เนื่องจากบังแสงดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลอดผ่าน
และเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้างมาก หรือปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมด

3. เมฆชั้นสูง (High Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร

เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus)
เมฆสีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ มักเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณกว้าง

เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus)
เมฆแผ่นบาง สีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสง
บางครั้งหักเหแสง ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด เป็นรูปวงกลม สีคล้ายรุ้ง

เมฆเซอรัส (Cirrus)
เมฆริ้ว สีขาว รูปร่างคล้ายขนนก เป็นผลึกน้ำแข็ง มักเกิดขึ้นในวันที่มีอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

4. เมฆก่อตัวในแนวตั้ง (Clouds of Vertical Development)

เมฆคิวมูลัส (Cumulus)
เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ
ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสง จนทำให้เกิดเงา
มักปรากฏให้เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
เมฆก่อตัวในแนวตั้ง พัฒนามาจากเมฆคิวมูลัส มีขนาดใหญ่มากปกคลุมพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด
ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากกระแสลมชั้นบนพัดแรง ก็จะทำให้ยอดเมฆรูปกะหล่ำ
กลายเป็นรูปทั่งตีเหล็ก ต่อยอดออกมาเป็น เมฆเซอโรสเตรตัส หรือเมฆเซอรัส


การเรียกชื่อก้อนเมฆ  การเรียกชื่อเมฆจะเรียกตามระดับความสูงและลักษณะรูปร่างของก้อนเมฆ ซึ่งเมฆสามารถแบ่งตามระดับความสูง (Altitude) ของฐานเมฆ (Cloud Base) ได้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

1. เมฆระดับสูง เรียกว่า เซอร์โร (Cirro) หรือเซอร์รัส (Cirrus) ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูง 6,000 - 18,000 เมตร (20,000 - 60,000 ฟุต) ขึ้นไป จึงทำให้เห็นเมฆชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าเมฆชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีสีขาวหรือเทาอ่อน และเกิดขึ้นในบรรยากาศที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เป็นเมฆซึ่งไม่ทำให้เกิดฝน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

2. เมฆระดับกลาง เรียกว่า อัลโต (Alto) ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูงระหว่าง 2,000 - 8,000 เมตร (6,500 -26,000 ฟุต) มีส่วนประกอบหลักคือ หยดน้ำ และมีน้ำแข็งบางส่วน แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆชนิดนี้ได้
3. เมฆระดับต่ำ เรียกว่า สตราโต (Strato) อยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุด ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูงไม่เกิน 2,000 เมตร (ผิวพื้น - 6,500 ฟุต) จะสามารถมองเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าเมฆชนิดอื่นๆ เมฆในกลุ่มนี้อาจจะมีสีดำและเป็นสีเทามากกว่าเมฆในระดับกลางและระดับสูง





ที่มา
http://www.student.chula.ac.th/~54373105/knowleage.html
http://www.thaiglider.com/th/story/29-cloud.html
http://www3.ipst.ac.th/globethailand/index.php?option=com_content&view=article&id=69%3A-cloud-type&catid=37%3A--atmosphere&Itemid=57

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น